ความรู้เบื้องต้นในการทำอาหารไทย

ความรู้เบื้องต้นในการทำอาหารไทย

การทำอาหารและขนม ผู้ประกอบอาหารจะทำให้ได้ผลดีต้องขึ้นอยู่ที่การฝึกฝน และการเรียนรู้วิธีการทำอาหาร รู้จักดัดแปลงตกแต่งอาหารชนิดต่างๆ ให้สะดุดตาสะดุดใจต่อผู้พบเห็นทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะต้องติดใจในรสชาติและกลิ่นของอาหารการทำอาหารผู้ทำจึงควรหมั่นฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ เพื่อให้มีประสบการณ์ต่ออาหารชนิดนั้นๆ และเพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้เรื่องอาหาร

ความมุ่งหมายของการทำอาหารรูปภาพที่เกี่ยวข้อง

1.   เพื่อให้อาหารสุก สะอาด ปราศจากเชื้อโรค ถูกสุขลักษณะ
2.   เพื่อให้อาหารย่อยง่ายขึ้นโดยการทำอาหารให้นุ่ม
3.   เพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการดีขึ้น โดยการประกอบอาหารให้ถูกหลัก
4.   เพื่อให้อาหารน่ารับประทานมากขึ้น โดยการจัดให้มีสีสันสวยงาม
5.   เพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ เช่น การถนอมอาหาร
เมื่อรู้ความมุ่งหมายแล้วผู้ประกอบอาหารควรมีความรู้เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ในการประกอบอาหาร เพราะความต้องการของมนุษย์ ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ซึ่งความต้องการต่างๆ สามารถกำหนดให้มีขนาดและคุณภาพแตกต่างกันได้ แต่เมื่อพิจารณาในเรื่องอาหารนับเป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์เราตั้งแต่เกิดจนตายจากไปถ้าเรารู้จักแต่เพียงรับประทานอาหารเป็นเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่รู้จักคุณค่าของอาหาร ประโยชน์ที่เราจะสรรหาอาหารมารับประทานก็คงไม่มี

เทคนิคในการประกอบอาหาร

การเตรียมอาหารหมายถึงวิธีต่างๆ ที่ทำให้อาหารพร้อมที่จะบริโภคได้ เช่น การปอก หั่น ต้ม ทอด อบ ปิ้ง ย่าง ฯลฯ อาหารจะสุกและพร้อมที่จะบริโภคได้นั้นจะต้องประกอบไปด้วยกระบวนการหลายๆ แบบดังกล่าว แต่ละวิธีก็ต้องมีกระบวนการพิเศษในตัวของมัน การปรุงอาหารที่ถูกหลักจะต้องเป็นไปอย่างถูกวิธีและสงวนคุณค่าอาหาร ผู้ประกอบอาหารจึงควรรู้จักเทคนิคในการประกอบอาหาร คือ
1.   การแบ่งอาหารออกเป็นส่วนๆ ให้มีขนาดเล็กลง ได้แก่ การปอก หั่น ตัด ฉีก ตำ คั้น ครูด บด
ปั่น โขลก สับ วิธีการนี้เป็นการช่วยให้อาหารมีขนาดเล็กลง ย่อยง่ายขึ้น แยกส่วนที่กินไม่ได้ทิ้งไปตัดส่วนที่สกปรกออกทิ้ง แต่วิธีการนี้อาจมีผลเสียบ้าง เช่นการสูญเสียวิตามินในอาหารเพราะต้องแช่อาหารในน้ำ เพื่อล้างสิ่งสกปรกออกให้หมด
2.   การคลุกและผสม ได้แก่ การตี กวน คน ขยำ คลุก นวด วิธีการเหล่านี้จะช่วยให้อาหารมีรสดี
น่ารับประทาน
3.   การหุงต้ม หมายถึง วิธีการต่างๆที่ใช้ความร้อนโดยอาศัยอากาศและน้ำเป็นตัวกลาง เช่น การ
ปิ้ง ย่าง เป็นการหุงต้มโดยใช้อากาศเป็นตัวกลาง เหมาะสำหรับการปรุงเนื้อสัตว์ให้มีรสอร่อยขึ้น เช่น ไก่ย่าง กุ้งเผา เนื้อย่าง ฯลฯ การหุงต้มโดยใช้น้ำมันและความร้อนเป็นตัวกลาง เช่น การต้ม ตุ๋น เคี่ยว ลวก การหุงต้มชนิดนี้เป็นการใช้ความร้อนและน้ำเป็นตัวกลาง

► วีดีโอเพิ่มเติม


Advertisements